นิวเมติกส์ (Pneumatic)


865 Views

  พฤหัสที่ 10 กันยายน 2563

นิวเมติกส์ (Pneumatic)
คำว่า นิวเมติกส์ มาจากภาษากรีก จากคำว่า pnuematigos (นิวเมติกอส) บางครั้งเรียกสั้นๆว่า Pnuema (นิวเม, นิวมา) แปลว่า อากาศ
 
นิวเมติกส์ นิวเมติก (Pneumatic) เป็นเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากพลังงานไฟฟ้า ไปเป็นพลังงานกล โดยใช้ลมเป้นตัวกลางช่วยในการเปลี่ยนแปลง
 
กรีกโรมันซึ่ง นำเอาเทคโนโลยีด้านนิวเมติกส์ มาใช้ในทางการทหาร โดยเริ่มก่อน สมัยคริศศักราช 500 ปี ชาวกรีกได้นำมาเอาลมอัดมาใช้ประโยชน์หลายๆ อย่าง
 
ต่อมาชาวกรีสกรีกที่นำเอาศาสตร์ของนิวเมติกส์มาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้กระบอกลมพ่นลมใส่กองไฟ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กองไฟลุกโชน นำมาปรุงอาหาร ถลุงโลหะทำเป้นมีดเครื่องใช้ผลิตอาวุธ ไฟแห่งกรีก (GREEK FRIE) โดยใช้กระบอกลมอัดลมเข้าถังโลหะ ซึ่งบรรจุของเหลวมีส่วนผสมของน้ำมันและซัลเฟอร์นาฟทา (Naphtha) ทำให้ติดไฟแล้วดับยาก ซึ่งในปัจจุบันระเบิดนาปาล์ม ก็มีคุณสมบัติคล้ายกับไฟแห่งกรีก
 
นิวเมติกส์ระบบกำเนิดลมอัด และระบบท่อจ่ายลม
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่สำคัญ แบ่งเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้
1.เครื่องอัดลม ปั๊มลม Air compressor  คือเครื่องปั๊มลม โดยอากาศจะถูกดูดผ่านตัวกรองลม เข้าไปในเครื่องอัดลม จะได้ลมอัดที่มีความดันสูงขึ้น จนความดันมากกองความดันบรรยากาศ 4-30 เท่า ลมอัดที่ออกมาจะมีความร้อน และมีไอน้ำอยู่ด้วย ไอน้ำในลมจะกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำในท่อลม เมื่อลมมีอุณหภูมิลดลง จึงต้องมี heat Exchange ที่ใช้น้ำหล่อท่อเย็นไหลผ่านท่อที่อยู่ติดกับท่อลมร้อนไหลผ่าน อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า After cooler ทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ลมจะเคลื่อนที่เข้าไปในถังลมอัด Air Receiver Tank  เข้าสู่แอร์ดรายเออร์ Air Dryer เพื่อเอาน้ำออกจากลมจนแห้ง ทำให้ลมมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยลง จะได้ไม่มีน้ำค้างท่อ หลังจากนั้นลมจะไหลผ่าน ตัวกรองลมดักน้ำ โดยมีชุด Automatic Drainer อยู่ข้างใต้ เพื่อปล่อยน้ำให้ออกไปจากระบบลม ลมที่แห้งและสะอาด จะไหลไปตามท่อ เพื่อไปยังเครื่องจักรที่ใช้ระบบลมนิวเมติกส์ต่างๆ ที่อยู่ปลายท่อสาขา
 
เครื่องอัดลม ปั๊มลม มีหลายประเภท เช่น
1.แอร์คอมเพลสเซอร์ (Air Compressor) แบบลูกสูบ ซึ่งแบ่งเป็น Single Stage และแบบ Two Stage
2.เครื่องอัดลมแบบใช้ใบพัดเลื่อน (Axial Vane Air Pump)
3.แอร์คอมเพรสเซอร์ แบบสกรู (Screw Air Compressor)
4.เครื่องอัดลมแบบไอดะแฟรม (Diaphragm Compressor)
 
ที่มา นิวเมติกส์.com/บทความนิวเมติกส์.html