5 วิธีการบำรุงรักษาปั๊มน้ำ
1029 Views
พฤหัสที่ 10 กันยายน 2563
การบำรุงรักษาถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรักที่กำลังมีประเด็นร้อนแรงอยู่ตามแหล่งข่าวต่างๆ หรือจะเป็นเรื่องของฝุ่น PM2.5 ที่ระบาดกันทั่วกรุงเทพฯก็ตาม แต่เราก็อย่าลืมที่จะบำรุงรักษา ปั๊มน้ำ ด้วยนะเพราะถ้าเราขาดน้ำไปเนี่ยลองคิดดูสิครับว่าจะลำบากกันขนาดไหน?
ทางเราจึงขอนำเสนอ 5 วิธีการบำรุงรักษาปั๊มน้ำเพื่อให้ปั๊มน้ำอยู่กับเราได้นานขึ้นนั่นเอง
1. ตรวจสอบปั๊มน้ำขณะที่ทำงานอยู่ : เป็นการวัดค่าพื้นฐานของปั๊มน้ำในแต่ละวัน เช่น แรงดันขาออก, ระดับเสียง, แรงสั่นสะเทือน, อุณหภูมิและกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ เป็นต้น เพราะค่าต่างๆนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติต่างๆในเบื้องต้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่มากขึ้นในอนาคต
2. การเปลี่ยนซีลกันรั่วของปั๊มน้ำ
Mechanical seal : เป็นส่วนประกอบที่มีหน้าสัมผัสเป็นยาง และต้องกระทบกับน้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำได้เนื่องจากการสึกหรอของยาง ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ควรจะรีบแก้ไขเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจทำให้ปั๊มน้ำพังเลยก็ได้
Gland Packing : การซีลแบบนี้จะมีน้ำรั่วซึมตลอดเวลาที่ใช้งาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปในส่วนของปลอกเพลาอาจมีการสึกหรอทำให้มีน้ำรั่วซึมมากขึ้น จึงควรเปลี่ยน Gland packing นี้ทุกๆ 1 ปี
3. การเปลี่ยนลูกปืน : ส่วนมากอายุการใช้งานของลูกปืนจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุการใช้งานอาจลดลงได้จากลักษณะการใช้งาน เช่น อุณหภูมิโดยรอบของลูกปืนที่สูงมากเกินไปจะทำให้จารบีละลายและทำให้ลูกปืนเป็นสนิมได้ นอกจากนี้ความชื้นและฝุ่นละอองก็สามารถส่งผลได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสังเกตง่ายๆได้จากการฟังเสียงของปั๊มน้ำตอนเริ่มทำงานว่ามีเสียงอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมรึเปล่า?
4. การแยกเครื่อง หรือรื้อปั๊ม (Overhual) : เป็นการรื้อถอนส่วนประกอบปั๊มน้ำเพื่อซ่อมบำรุง เพราะวัสดุต่างๆจะมีการสึกหรอเมื่อใช้งานทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำลดลง จึงต้องมีการทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกๆ 3-5 ปีต่อครั้ง
5. การหยุดเดินปั๊มน้ำ : กรณีที่ต้องหยุดเดินปั๊มน้ำเป็นระยะเวลานานก็ต้องมีการบำรุงรักษาโดยนำน้ำออกเช่นกัน เนื่องจากการมีน้ำขังอยู่ภายในปั๊มอาจทำให้ส่วนประกอบต่างๆเป็นสนิมได้ ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ไขอาจทำให้ปั๊มน้ำไม่สามารถทำงานได้อีกเลย
สุดท้ายนี้ในแต่ละวันเราเคยได้เช็คหรือตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆที่เราใช้งานกันรึเปล่า? มีเสียงดัง หรือมีการรั่วซึมไหมนะ?
หากมีข้อมูลสงสัยเพิ่มเติมสามารถคลิกตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ
http://www.technopumps.net/contactus.aspx
หรือผ่านทาง Facebook fanpage : Technopumps
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/train/PDF/train_54_11.pdf
ที่มา technopumps.net/Blog/5_วิธีการบำรุงรักษาปั๊มน้ำ-blog.aspx